คุณภาพ ในองค์กรสุขภาพ
บทที่ 1
หลักการพื้นฐานระบบคุณภาพ
(Fundamental concept of quality system)
สวรส.
ได้เห็นชอบให้จัดตั้ง สรพ. เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2542
เป้าหมายให้มีการจัดการเครือข่ายเพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
มีภารกิจหลักขององค์กรดังนี้
1. ให้การรับรอง (accredit) คุณภาพโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมถึงสถานพยาบาลภาครัฐที่ไม่มีเตียงรับผู้ป่วย
2. ส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาล
3. ศึกษาวิจัย รวมรวมวิเคราะห์
และถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลแก่หน่วยงานที่สนใจ
หลักการระบบคุณภาพ
ในระบบคุณภาพ
คำว่าสุขภาพมีการให้ความหมายโดยทั่วไปว่าเป็นคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของกระบวนการดูแล
(process of care) ตลอดจนเป้าประสงค์ วัตถุประสงค์
ของกระบวนการเหล่านั้น
หรืออาจหมายถึงเกณฑ์ที่ใช้วัดที่เน้นการให้ความสำคัญต่อการตัดสินคุณค่าในมิติต่างๆ
ครอบคลุม คุณสมบัติ องค์ประกอบ หรือมิติของกระบวนการดูแลทางการแพทย์
กล่าวโดยทั่วไปคุณภาพประกอบด้วยมาตรฐาน
(standard) ความพึงพอใจ (satisfaction) และเป็นไปตามคุณลักษณะข้อกำหนดขององค์กรที่จะรับรอง (specification)
Avedis Donabedian ได้ให้คำชี้แนะว่า
คุณภาพในระบบสุขภาพเป็นผลิตผลของ 2 ปัจจัย คือ 1)เป็นศาสตร์
และเทคโนโลยีของการดูแลสุขภาพ 2) เป็นการประยุกต์ ศาสตร์และเทคโนโลยีเหล่านั้นลงสู่การปฏิบัติ
แนวคิดคุณภาพ (quality concepts)
เป็นที่รับรู้ว่ากระบวนการคุณภาพเริ่มจาก การประกันคุณภาพสถานพยาบาล(Hospital Quality Assurance) ขับเคลื่อนสู่ การปรับปรุงคุณภาพระบบสุขภาพ(Healthcare Quality Improvement)สุดท้ายสู่การปรับปรุงภาวะของประชากร(Population Health Improvement)
ระบบการจัดการคุณภาพ
ประกอบด้วยแนวคิด หลักการที่หลากหลาย
โดยแนวคิดคุณภาพไม่ใช่เครื่องมือ
แต่เป็นกรอบแนวคิดให้ทุกระดับไปกำหนดร่วมกันเป็นระบบการจัดการคุณภาพ
การควบคุมคุณภาพ
(quality control)
การควบคุมคุณภาพมักจะมองที่ผลลัพธ์ หรือผลผลิตของกระบวนการว่าเป็นไปหรือไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่สามารถวัดได้
หรือคุณลักษณะซึ่งมีการกำหนดไว้ล่วงหน้าก่อน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องจึงเป็นการวางระบบ
หรือกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติ
และสร้างความตระหนักแก่ผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน
ให้ผลลัพธ์มีคุณสมบัติตามที่กำหนดหรือไม่ แต่ไม่ได้สะท้อนว่ากระบวนการผลิต
หรือการให้บริการทุกครั้งจะได้ผลผลิต หรือบริการที่เป็นไปตามมาตรฐาน
การประเมินคุณภาพ
(Quality assessment)
เป็นการเปรียบเทียบการปฏิบัติงาน (performance) กับความคาดหวัง มาตรฐาน หรือเป้าประสงค์ ทั้งนี้เพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุง
อย่างไรก็ตามการประเมินคุณภาพไม่ได้เป็นการนำเสนอแนวทางหรือกลวิธีในการแก้ไข
การประกันคุณภาพ
(Quality assurance)
เป็นผลจากโครงสร้าง กระบวนการ
และผลได้จากกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด การออกแบบ การประเมิน
การติดตาม และการปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการ
ในญี่ปุ่น
การประกันคุณภาพเริ่มต้นที่ระบบอุตสาหกรรมโดยเน้นการปรับปรุงคุณภาพ(ในภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า
KAIZEN) และการบริหารคุณภาพทั่งทั้งองค์กร
โดยมีการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่ง
การประกันคุณภาพจึงเป็นสิ่งแรกที่ควรตระหนักในการเริ่มต้นงานคุณภาพ กล่าวโดยรวม
การประกันคุณภาพเป็นการประกันในแต่ละขั้นตอนที่มีการดำเนินการว่าเป็นไปตามมาตรฐานวิธีปฏิบัติ
ทั้งนี้เมื่อประกอบทุกขั้นตอนเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นหลักประกันว่าผลลัพธ์
หรือการบริการในส่วนนั้นน่าจะมีคุณภาพ
การจัดการคุณภาพโดยรวม
(Total Quality
Management)
เป็นแนวคิดคุณภาพที่เกิดขึ้นตามมา เนื่องจากการประกันคุณภาพมีจุดอ่อน
คือ เป็นการประกันแยกส่วน
และขาดการบูรณาการเข้าสู่กระบวนการของการจัดการที่เพียงพอ
การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรจึงเป็นการจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยของทุกคนทุกระดับ
โดยมุ่งเป้าที่ความสำเร็จระยะยาวโดยยึดความพึงพอใจลูกค้า
และผลประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในองค์กรและผลต่อสังคม
การจัดการคุณภาพโดยรวมจึงเป็นการบูรณาการกระบวนการต่างๆเข้าด้วยกันในทุกระดับ
ซึ่งหากองค์กรมีความเข้าใจ และใช้เครื่องมือในการควบคุม กำกับ ก็อาจช่วยลดความเป็นอิสระหรือการปกป้องตนเองลงได้ในระดับหนึ่ง
การจัดการคุณภาพโดยรวม จึงเป็นการจัดการที่เน้นภาวะความเป็นผู้นำอย่างแท้จริง
การปรับปรุงคุณภาพ
(quality improvement)
ในการพัฒนาคุณภาพเป้าประสงค์ของคุณภาพจะไม่หยุดนิ่ง
เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และความคาดหวัง กระบวนการสำคัญ คือ
ความพยายามที่จะระบุจุดอ่อน อุปสรรคที่ขัดขวางการปรับปรุง
หรือการระบุโอกาสที่เป็นไปได้ในการปรับปรุง
การปรับปรุงเป็นกระบวนการที่พลวัตรและต่อเนื่องเพื่อการบรรลุเป้าประสงค์ในระดับที่สูงขึ้น
การปรับปรุงคุณภาพจึงเท่ากับเป็นการเปลี่ยนวงจรคุณภาพที่เป็นวงจรปิดให้เป็นเกลียวคุณภาพอ่างต่อเนื่อง
จึงมีการใช้คำว่าการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement: CQI) ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐอเมริการ
ให้ความเห็นว่า ความสำเร็จของ CQI คือการขจัดการตำหนิเรื่องความล้มเหลวว่าเกิดจากบุคคล
เป็นมุ่งไปที่ระบบ และให้ความสำคัญที่ลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
หลักการสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ความสำเร็จของการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องขึ้นกับผู้นำในการประเมินและส่งเสริมให้บรรลุหรือตอบหลักการสำคัญขององค์กร
อาทิตย์
-
ความต้องการของลูกค้ามีความสำคัญ และเป็นจุดเน้นในทุกกิจกรรม
-
ทุกอย่างปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ ผลิตภัณฑ์
หรือการบริการ
-
คุณภาพเป็นงานของทุกคน
ผลิตผลและการบริการทีมีคุณภาพย่อมเป็นผลจากคุณภาพของกระบวนการและการทำงานเป็นทีม
-
ผู้ปฏิบัติงานย่อมรู้ดีที่สุดเพราะคือผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการที่รับผิดชอบ
-
บุคคลต้องการการยอมรับ
ทุกคนต้องการให้ปฏิบัติด้วยอย่างมีค่าและเป็นคนสำคัญในทีม
บุคคลจะทำดีที่สุดเมื่อเขารู้สึกดีทั้งต่อตนเองและทีม
-
การทำงานเป็นทีมคือคำตอบที่มีโอกาสบรรลุผลมากกว่าทำเดี่ยว
-
ความหลากหลายเป็นสิ่งดี
เพราะหากปราศจากการคิดต่างย่อมไม่เกิดการสร้างสรรค์
-
การมีส่วนร่วมนำไปสู่พันธะและความมุ่งมั่นร่วมกัน
บุคคลจะเกิดแรงขับที่จะปฏิบัติเมื่อเขาได้มีส่วนในการตัดสินใจ
บุคคลต้องการและอยากมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่มีผลต่อตัวเขาและลูกค้า
-
การสนับสนุนนำไปสู่ความสำเร็จ
-
ท่านคือคนสำคัญที่จะทำให้เกิดความแตกต่าง
วงล้อคุณภาพ (The Deming Cycle/PDCA/PDSA)
W. Edwards Deming เขียนเรื่องการจัดการสูงสุดเพื่อปรับปรุงการออกแบบ
การบริการ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ การทดสอบ และการขายผ่านการใช้กลวิธีที่หลากหลาย
รวมทั้งการประยุกต์ใช้สถิติ
วงจร Deming ประกอบด้วย 4 กระบวนการหลัก ได้แก่ Plan/Do/Check/Act สำหรับในประเทศไทยมักใช้คำว่า “วงล้อคุณภาพ”
การวางแผน (P/Plan)
เป็นขั้นตอนแรกในวงจร
จำเป็นต้องใช้ภาวะผู้นำร่วมกับความสามารถในการบริหารจัดการ การทำงานเป็นทีม
การวางแผนสามารถจัดเป็น 2 ประเภทหลักคือ
1. การวางแผนระดับองค์กร มักเป็นแผนระยะยาว
หรือแผนยุทธศาสตร์ เป็นการวางแผนเพื่ออนาคต
โดยหน่วยงานจะต้องนำแผนดังกล่าวซึ่งเป็นแผนหลักลงสู่การวางแผนปฏิบัติการ
2. การวางแผนปฏิบัติการ
เพื่อการพัฒนาหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพเงื่อนไขสภาวะการทำงานในปัจจุบันให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพหรือการปฏิบัติงาน
โดยสอดคล้องกับวงจร PDCA เพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ
ในกระบวนการวางแผนมีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอีกประการคือ ปัจจัยนำเข้า โดย สรพ. ได้เคย
เผยแพร่ปัจจัยนำเข้าสู่การวางแผนด้วยแนวคิดคำย่อ
3C ประกอบด้วย Corevalue-concept/context/criteria
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ได้แก่
ค่านิยม(Core value) หลักการ (Concept) และบริบท (Context)
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กรได้แก่ เกณฑ์หรือมาตรฐานวิชาชีพ (Criteria/standard)
อาจมีผู้ให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอกที่สำคัญอีกประการคือ ลูกค้า (customers) ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ได้แก่
-
ข้อมูลต่างๆเช่น
สภาพความเป็นจริงที่ได้จากการทบทวน/วิเคราะห์อุบัติการณ์ ข้อร้องเรียน ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินการ และความต้องการของลูกค้า
-
ความมุ่งหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดเน้นของงาน/หน่วยงาน
-
ทรัพยากรการบริหาร เวลา
-
ทักษาะ ประสบการณ์ ความรู้ที่ต้องมีเพิ่มเติม
-
หน่วยงาน/ทีม/คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
-
การออกแบบกระบวนการและการจัดการโครงการเชิงระบบ
-
แนวทางการสื่อสาร การส่งเสริม การติดตาม ฯลฯ
ในขั้นตอน P ผู้ที่มีบทบาท
หรือรับผิดชอบคือผู้บริหารและลงไปถึงระดับหัวหน้างาน อย่างไรก็ตาม ในวงจร PDCA นั้นสามารถใช้ได้กับระดับการปฏิบัติงานทุกระดับ
โดยที่หัวหน้างานต้องส่งเสริม หรือสนับสนุนผ่านกระบวนการ empowerment
ทำ/ปฏิบัติ (D/Do)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องโดยบุคลากรการแพทย์
ผู้ปฏิบัติงาน ในบทบาท หน้าที่ หรือสถานภาพที่แตกต่างกันไป
การปฏิบัติมักพบสิ่งที่ไม่ได้คาดหวังเสมอ
จึงต้องมีการตรวจสอบหรือทบทวนว่าเกิดอุปสรรค หรือขัดข้อง ความคลาดเคลื่อน
หรือความเสี่ยงใดๆ ในระดับหน้างานผ่านการบันทึก ซึ่งวงจร PDCA ก็จะเกิดขึ้นทับซ้อนในขั้นตอนนี้ได้
อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนจะเป็นประเด็นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการหลักเดิมที่วางไว้อยู่ก่อนนัก
เนื่องจากข้อขัดข้องที่พบอาจเป็นเฉพาะกรณี ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย
หรือไม่มีผลต่อกระบวนการหลักที่กำหนด
ปัจจัยนำเข้าสำหรับขั้นตอนการปฏิบัตินี้ คือกระบวนการ
ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติควรรับรู้ถึงความมุ่งหมาย
และเป้าประสงค์ของกระบวนการหลักดังกล่าวด้วย ในขั้นนี้อาจแบ่งเป็น 2 ระยะย่อย คือ
1. ระยะทดสอบเครื่องมือ ในขั้นตอนการวางแผนอาจมีการออกแบบบันทึกชั่วคราวเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล
ปัญหา อุปสรรคจากการใช้เครื่องมือก่อนการปฏิบัติจริง
แบบบันทึกนี้สามารถปรับเปลี่ยน จึงไม่ควรจัดทำเป็นจำนวนมาก
ระยะนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 1 วันหรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับปริมาณงาน
2. ระยะเวลาการปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนด ในขั้นตอนนี้เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลป้อนกลับโดยเร็ว
คือ การสำรวจแบบย่อ
เพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงนั้นนำไปสู่การปรับปรุงตามเป้าประสงค์หรือไม่
ช่วยให้เกิดวงจรย่อย ในวงจร PDCA ใหญ่
ผู้นำควรมีการสอบถามและติดตามเพื่อส่งเสริมและสร้างขวัญกำลังใจ
ผ่านกระบวนการต่าง เช่น การเยี่ยมหน่วย หรือ safety walks round
การตรวจสอบ (C/check)
เป็นการประเมินว่ากระบวนการที่ได้จากการวางแผน
และนำลงสู่การปฏิบัตินั้น บรรลุความมุ่งหมายระดับองค์กร
หรือเป้าประสงค์ระดับงานหรือหน้างาน การตรวจสอบอาศัยตัวชี้วัด
จุดอ่อนที่พบในการเยี่ยมสำรวจคือ ไม่มีการกำหนดตัวชี้วัดของการปฏิบัติไว้ชัดเจน
และส่วนมากจะเป็นตัวชี้วัดกระบวนการอย่างเดียว ไม่ปรากฎตัวชี้วัดที่เป็นผลลัพธ์
ผลได้ หรือผลกระทบของกิจกรรม แนวทางการปฏิบัติสำหรับการตรวจสอบได้แก่
-
กำหนดแนวทางและตัวชี้วัดเพื่อการตรวจสอบตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน
-
คำนึงถึงมิติคุณภาพของกระบวนการ หรือกิจกรรม ตอบสนองมิติคุณภาพด้านใด
-
กำหนดครอบคลุมทั้งตัวชี้วัดกระบวนการ และตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์
ทั้งนี้ให้พิจารณาจากเป้าประสงค์ของกระบวนการเป็นสำคัญ
-
กำหนดผู้มีหน้าที่ในการติดตาม ระยะเวลา การรายงาน การวิเคราะห์
ข้อเสนอแนะ และการป้อนกลับอย่างเหมาะสม
การดำเนินการให้เหมาะสม
(A/act)
ขั้นตอนนี้มักมีความเข้าใจที่แตกต่างและคลาดเคลื่อนว่า act ย่อมาจาก action จึงแปลขั้นตอนนี้เป็นการปฏิบัติใหม่ ซ้อนทับกับขั้นตอน D/do ในความหมายที่แท้จริงขั้นตอนนี้ต่อเนื่องจากผลการประเมินในขั้นตอนของการรตรวจสอบ
เป็นขั้นตอนที่พิจารณาว่าจะดำเนินการให้เหมาะสมอย่างไร ซึ่งผลจากการตรวจสอบ
สามารถบ่งชี้ได้ 2 ลักษณะ คือ
1. เป็นไปตามแผน หรือเป้าประสงค์ที่วางไว้
ก็ให้นำแนวทาง หรือกระบวนการปฏิบัตินั้นกำหนดเป็นมาตรฐานการปฏิบัติ
พร้อมทั้งหาวิธีการที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งอาจหมายถึงสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าเดิม หรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเดิม
หรือทำให้คุณภาพดียิ่งขึ้น
2. ผลไม่เป็นตามแผนหรือเป้าที่ตั้งไว้
ควรนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาปัจจัยสาเหตุ จะปรับปรุงกระบวนการ
หรือขั้นตอนใด มองหาทางเลือกใหม่ และนำลงสู่การวางแผนในวงจร PDCA อีกครั้ง
***สิ่งที่ต้องถามเพื่อทบทวนระบบคือ
-
เป้าประสงค์เดิมจะยังคงไว้ หรือปรับเปลี่ยน หรือยกเลิก
ซึ่งจะสะท้อนว่าเป็นเรื่องที่เป็นจริง หรือไปถึงได้หรือไม่
-
จะยังคงใช้กลยุทธ์เดิมต่อเนื่องไปอีกสักระยะหรือไม
-
หากยังคงเป้าประสงค์เดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ใดๆ
ที่จำเป็นต้องดำเนินการ
-
ผลลัพธ์การปรับปรุงครั้งนี้จะสามารถขยายสู่วงกว้างได้หรือไม่
-
มีองค์ความรู้ใหม่อะไรที่ได้รับจากวงจรในครั้งนี้
-
วัตถุประสงค์ของวงจร PDCA ในครั้งต่อไปคืออะไร
หลักการ 3P และวงจร PDCA(3P-PDCA)
มาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพมีการกล่าวถึง
3P ที่ประกอบด้วย purpose/process/performance ซึ่งเป็นมุมมองการพัฒนาเชิงระบบเหมือนกับความหมายของ
IPD หรือ input/process/output สำหรับ input
เป็นปัจจัยนำเข้าซึ่งจะคำนึงถึงทรัพยากรการบริหารทุกประเภทที่เหมาะต่อการวางแผนยุทธศาสตร์
หรือแผนหลักขององค์กร เช่น คน เงิน สิ่งของ ข้อมูล และการจัดการ สำหรับ purpose เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนทุกระดับ
แต่สำหรับหน้างานหรือการวางแผนพัฒนากิจวัตรประจำวันนั้นอาจไม่จำเป็นที่ต้องคำนึงถึงทรัพยากรการบริหาร
เพราะเป็นเหมือนทิศทางที่ต้องปรับปรุงนำไปสู่การกำหนดกระบวนการและตัวชี้วัดที่เหมาะสม
ซึ่งจะพบได้ว่า process ใน 3P ซ้อนทับเป็นตัวเดียวกันกับใน
IPD สำหรับ performance เหมือนกับ output
คือผลลัพธ์ หรือผลการปฏิบัติงาน
ความสัมพันธ์ของความมุ่งหมายใน
3P และการวางแผนในวงจร PDCA
จากรูปภาพที่
1-9 ในกรอบแนวตั้งซ้ายมือสุดเป็นความมุ่งหมายซึ่งเป็นปัจจัยที่นำเข้าสู่กระบวนการ
ความมุ่งหมายเป็นสิ่งที่กำหนดกระบวนการหลักหรือกระบวนการเพิ่มคุณค่าสำคัญ
นอกจากนี้ความมุ่งหมายยังลดทอนลงมาเป็นส่วนหนึ่งของเป้าประสงค์ของแผนปฏิบัติการหรือกระบวนการด้วย
เพื่อให้สามารถกำหนดความต้องการกระบวนการ และการออกแบบที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น
ความมุ่งหมายนี้มีปัจจัยที่ต้องคำนึงคือ ความต้องการของผู้รับผลงาน
ข้อกำหนดทางวิชาชีพ หรือมาตรฐาน นโยบายหรือบริบทขององค์กร ตลอดจนค่านิยม และข้อมูล
ประเด็นคุณภาพสำคัญ (ในส่วนความมุ่งหมาย) ที่ได้จากการวัด การทบทวน การวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพ
การจัดการองค์ความรู้ หรือผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา
ความสัมพันธ์ของกระบวนการใน
3P และการวางแผน/การปฏิบัติ/การดำเนินการให้เหมาะสมในวงจร
PDCA
ในขั้นตอนกระบวนการประกอบด้วยกิจกรรมหลักที่กระจายอยู่ใน 3 ระดับ คือ Plan /การวางแผน ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กร หน่วยงาน
ต้องกำหนดหรือจัดลำดับความสำคัญของกระบวนการ
กำหนดเป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายหลักและความมุ่งหมายของกระบวนการ
นำไปสู่การออกแบบกระบวนการ การสร้างตัวชี้วัด และนำลงสู่ขั้นตอนระดับ Do/การปฏิบัติ
ระดับสุดท้ายในวงจร PDCA คือ act/การดำเนินการให้เหมาะสมหลังการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นการปรับปรุงหรือการพัฒนาคุณภาพที่ต่อเนื่องหรือไม่
เป็นนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่หรือไม่ ผ่านกระบวนการเทียบเคียง การวิจัยและพัฒนาอย่างเหมาะสม
ข้อสรุปที่ได้จะเป็นประเด็นคุณภาพสำคัญที่ส่งต่อไปยัง purpose และเป็นปัจจจัยที่ส่งต่อโดยตรงถึงตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ต้องดำเนินการ
ความสัมพันธ์ระหว่างผลการปฏิบัติงานใน
3P กับการตรวจสอบและการดำเนินการให้เหมาะสมในวงจร PDCA
ผลการปฏิบัติงานเป็นการตรวจสอบผลลัพธ์ของกระบวนการที่วางแผนและนำลงปฏิบัติผ่านการติดตามตัวชี้วัดกระบวนการและตัวชี้วัดผลลัพธ์
ซึ่งทั้ง 2 ประการจัดเป็น Performance
measurement โดยตรง
นอกจากนี้การตรวจสอบของวงจร PDCA แล้ว
การทบทวนคุณภาพจากอุบัติการณ์หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นการประเมินผลกระทบจากกระบวนการ ทั้ง 2 กระบวนนี้
เรียกรวมว่า performance
analysis and review ข้อมูลที่ได้ส่งต่อไปยังขั้นตอน
การดำเนินการให้เหมาะสม เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
ซึ่งกล่าวโดยละเอียดแล้วในวงจร PDCA
บทสรุป
คุณภาพเป็นคุณสมบัติของผลผลิต
หรือบริการ ที่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้รับบริการ หรือลูกค้า
คุณภาพประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1. มาตรฐาน(standard) 2. ความคาดหวัง/ความพีงพอใจ(satisfaction)
และข้อกำหนดของหน่วยงานที่รับรอง(specification) แนวคิดคุณภาพเปลี่ยนไปตามบริบท เงื่อนไข ระยะเวลา
การจัดการระบบคุณภาพมีการดำเนินการที่หลากหลาย ตั้งแต่ การควบคุมคุณภาพ
การประเมินคุณภาพ การประกันคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพ
การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์จะต้องใช้วงล้อเดมมิง
หรือ PDCA cycle จัดเป็นแนวคิดที่ช่วยให้องค์กรมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น